สงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2482-2488)


เรียงจากซ้ายไปขวา: กองทัพญี่ปุ่นในยุทธการอู่ฮั่น; ทหารอังกฤษในยุทธการเอล อาลาเมนครั้งที่สอง;
ทหารโซเวียตในยุทธการสตาลินกราด; เครื่องบินดำทิ้งระเบิดสตูก้าในแนวรบด้านตะวันออก;
วิลเฮล์ม ไคเทลลงนามในเอกสารยอมจำนน; กองทัพเรือสหรัฐในอ่าวลินกาเยน
ขอบคุณภาพประกอบจาก : วิกิพีเดีย

สงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2482-2488)

ความตึงเครียดระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลงพิสูจน์ให้เห็นว่าสงครามไม่สามารถแก้ปัญหาข้อขัดแย้งได้  การเจรจาหลังสงครามยุติก็ยิ่งก่อความไม่พอใจกับประเทศที่เกี่ยวข้อง  นอกจากแก้ปัญหาแล้วเงื่อนหลายข้อที่เกิดจากสนธิสัญญาสันติภาพแวร์ซายส์ ยังก่อปัญหาเพิ่มขึ้น  เมื่อสถานการณ์ความขัดแย้งดำเนินไปจนถึงขีดสุดโดยมาตรการต่างๆไม่สามารถ ป้องกันได้ สงครามโลกครั้งที่ 2 (World War II)  ก็เกิดขึ้นผู้แพ้อย่างเยอรมนีและความพร้อมที่จะแสดงบทบาทสำคัญให้โลกประจักษ์อีกครั้งหนึ่ง

มูลเหตุของสงคราม
1. ความหย่อนประสิทธิภาพขององค์การสันนิบาตชาติ  แม้จุดประสงค์สำคัญของการก่อตั้งองค์การแห่งนี้คือ  การรักษาสันติภาพองค์การสันนิบาตชาติไม่อาจทำสำเร็จเพราะอุปสรรคข้อใหญ่ 6 ประการ
1.1 ประเทศมหาอำนาจที่สำคัญไม่ได้ร่วมเป็นสมาชิกก่อตั้งคือ สหรัฐอเมริกา รัสเซียจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกก็เมื่อเวลาผ่านไปนานแล้วคือ พ.ศ. 2477 (รัสเซียเปลี่ยนชื่อเป็นสหภาพโซเวียตหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2460)
1.2 สันนิบาตชาติทำได้เพียงแต่เสนอแนะให้สมาชิกทำตาม  แต่ไม่อำนาจบังคับเหตุการณ์ตึงเครียดต่างๆ  ที่ชี้ให้ถึงความล้มเหลวในการรักษาสันติภาพขององค์การสันนิบาตชาติที่สำคัญ  การยึดครองแมนจูเรียของญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2475  สันนิบาตชาติไม่สามารถหยุดยั้งการกระทำดังกล่าวไดและญี่ปุ่นยังท้าทายโดยการลาออกจากสมาชิกภาพ
1.3 การครอบครองเอธิโอเปียของอิตาลีใน พ.ศ. 2479  แม้องค์การสันนิบาตชาติใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจก็ไม่สามารถหยุดยั้งอิตาลีได้  อิตาลีก็ลาออกจากสมาชิกภาพเช่นเดียวกับญี่ปุ่น
1.4 สงครามกลางเมืองในสเปนระหว่างพวกฟาสซิสต์ (Fascists) กับพวกนิยมระบอบสาธารณรัฐ
1.5 การรุกรานจีนของญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2480-2482  ทำให้ญี่ปุ่นสามารถยึดครองพื้นที่ของจีนได้ถึง 1 ใน 4
1.6 การผนวกออสเตรียและเชโกสโลวะเกียของเยอรมนีใน พ.ศ. 2481 และ พ.ศ. 2482
2. ความปรารถนาที่จะสร้างความยิ่งใหญ่ของเยอรมนี  ความไม่พอใจสนธิสัญญาสันติภาพแวร์ซายส์ ปัญหาทางเศรษฐกิจที่เยอรมนีได้รับเพราะเพราะต้องเสียดินแดนเป็นค่าปฏิกรรม สงครามให้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตรสิ่งสำคัญคือความฝังใจของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำเยอรมนีที่มีความภาคภูมิใจในความยิ่งใหญ่ของชนเผ่าอารยันว่าสูงเหนือกว่าชนเผ่าพันธุ์อื่น สู่การบีบคั้นเข่นฆ่าเผ่าพันธุ์ที่ด้อยกว่า  คือ  ยิว
3. การรวมกลุ่มพันธมิตรระหว่างเยอรมัน อิตาลีและญี่ปุ่น ซึ่งต่างก็ปกครองด้วยระบบฟาสซิสต์
4. ความอ่อนแอของอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งแสดงท่าทีประนีประนอมกับฝ่ายอักษะ

การเกิดสงครามและผลของสงคราม
ฮิตเลอร์ผู้นำพรรคนาซีได้อำนาจบริหารประเทศ ได้นำเยอรมนีออกจากการเป็นสมาชิกสันนิบาตชาติในพ.ศ. 2475 เริ่มละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซายส์   เช่นการเสริมสร้างอาวุธและแสนยานุภาพทางกองทัพบุกยึดเขตไรน์แลนด์  โดยไม่ฟังเสียงคัดค้านของอังกฤษและฝรั่งเศส เมื่อเยอรมนียึดครองโปแลนด์อังกฤษและฝรั่งเศสจึงประกาศสงครามกับเยอรมนีวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2482
สงครามดำเนินไปจนยุโรปแทบทั้งหมดอยู่ภายใต้การยึดครองของฝ่ายอักษะ  อังกฤษแม้ยังยืนหยัดอยู่แต่ก็ถูกโจมตีทางอากาศอย่างหนัก เยอรมนีส่งกองทหารบุกสหภาพโซเวียตในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2484 และญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่เพิร์ล ฮาร์เบอร์ (Pearl Harbor) หมู่เกาะฮาวาย ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484  ทำให้สหภาพโซวียตและสหรัฐอเมริกาประกาศสงครามต่อฝ่ายอักษะด้วยและผนึกกำลังร่วมกับฝ่ายพันธมิตรตอบโต้เยอรมนี อิตาลี ละญี่ปุ่นจนถึงเยอรมนีต้องประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไขเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2488  ส่วนที่ญี่ปุ่นซึ่งยึดครองประเทศต่างๆ ในเอเชียและมีไทยเป็นพันธมิตรแบบจำยอมยังคงรบต่อไปจนกระทั่งสหรัฐอเมริกาต้องตัดสินใจใช้อาวุธที่เป็นประดิษฐกรรมล่าสุดคือการทิ้งระเบิดปรมาณูถล่มเมืองฮิโรชิมา (Hiroshima) ญี่ปุ่น

การเข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงบรรดาประเทศฝ่ายพันธมิตรได้จัดตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้น
1. ทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส  เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489  ยกดินแดนที่ได้มาจากฝรั่งเศสในกรณีพิพาทอินโดจีน  คือ  ดินแดนทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขงละเขมรส่วนใน ได้แก่ พระตะบอง  เสียมราฐ  ศรีโสภณ  คืนให้แก่ฝรั่งเศสดังเดิม  ฝั่งเศสจึงตกลงที่จะเลิกคัดค้านการเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติของไทย
2. เปิดสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับสหโซเวียต
3. เปิดสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับสาธารณรัฐจีนเป็นครั้งแรก  ในพ.ศ.  2497  ไทยได้เข้าร่วมสมาชิกองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สปอ.) เพื่อร่วมมือประเทศอื่นๆ อีก 7 ประเทศ คือสหรัฐอเมริกา  อังกฤษ  ฝรั่งเศส  ออสเตรเลีย  นิวซีแลนด์  ฟิลิปปินส์ และปากีสถาน  ต่อต้านการขยายตัวของฝ่ายคอมมิวนิสต์นับแต่นั้นมา  ต่อมาองค์การได้ยุบเลิกไปใน พ.ศ. 2520
เมื่อประเทศฝ่ายเสรีประชาธิปไตยและฝ่ายคอมมิวนิสต์หันมาดำเนินนโยบายเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดและประนีประนอมกันมากขึ้น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *