ไฟฟ้าภายในบ้าน

ไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน

พลังงานความร้อน เป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้า ให้กับประเทศไทยได้มากที่สุด ซึ่งต้องใช้น้ำมันเตา ถ่านลิกไนต์และแก๊สธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน ความร้อนจากการเผาไหม้จะทำให้น้ำภายในหม้อต้มน้ำเดือน กลายเป็นไอ ไปผลักดันกังหันไอน้ำที่เชื่อต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้หมุน ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น

ไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ

โรงไฟฟ้าพลังน้ำ จะได้มาจากเขื่อน ซึ่งเขื่อนจะทดน้ำและจะทำให้น้ำไหลผ่านช่องทางบังคับไปขับดันกังหัน เมื่อกังหันหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งต่อกับกังหันก็จะหมุนไปด้วยกันได้ กระแสไฟฟ้าออกมาใช้งาน

ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์

ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานความร้อนและพลังงานแสงสว่าง ซึ่งเป็นพลังงานที่ใช้ไม่มีวันหมด ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้คิดดัดแปลงพลังงานจากดวงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า เราเรียกว่า “เซลล์สุริยะ” หรือ “โซลาเซลล์” เซลสุริยะหรือโซลาเชลล์เป็นอุปกรณ์ที่สามารถเปลี่ยนแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง

เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน

1. ให้พลังงานความร้อน  คือ  เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังไฟฟ้า ให้เป็นพลังงานความร้อน ได้แก่ เตารีด หม้อหุงข้าวไฟฟ้า กาต้มน้ำไฟฟ้า เป็นต้น
2. ให้พลังงานกล  คือ  เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานกล หรือทำให้วัตถุเคลื่อนไหวได้ ได้แก่ พัดลม เครื่อนปั่นผลไม้ เป็นต้น
3. ให้พลังงานกลและความร้อน  คือ  เครื่องให้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้า ให้เป็นพลังงานความร้อนและพลังงานกลไปพร้อม ๆ กันได้แก่ ไดเป่าผม เป็นต้น
4. ให้พลังงานแสงสว่าง  คือ  เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานแสงสว่าง ได้แก่ หลอดไฟแบบมีใส้ (ไฟดวง) หลอดฟลูออเรสเซน (ฟลอดนีออน) เป็นต้น
5. ให้พลังเสียงและภาพ  คือ  เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานเสียงและภาพ ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ เครื่องเล่นวีดีโอ เป็นต้น

การใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและปลอยภัย

1. การใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย
- รีดผ้าครั้งละมาก ๆ ในคราวเดียว
- ปิดไฟทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน
- ควรปิดโทรทัศน์เมื่อง่วงนอนหรือก่อนนอนหลับ
- เมื่อปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าควรถอดปลั๊กออกทุกครั้ง

2. การใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย
- ไม่ควรจับสายอุปกรณ์ไฟฟ้าขณะที่ตัวเราเปียกน้ำ
- เมื่อเห็นสายไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดควรบอกผู้ใหญ่
- ไม่ควรให้เด็กต่อปลั๊กหรือปิดเปิดสวิทช์ไฟเอง
- ปลั๊กไฟควรอยู่ที่สูงให้พ้นมือเด็ก

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *