การใช้สำนวนไทย และการแต่งคำประพันธ์

สำนวนไทย
สำนวนไทย เป็นถ้อยคำที่ร้อยเรียงขึ้นเพื่อใช้เป็นข้อคิดหรือคติสอนใจ แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ได้แก่

๑. สำนวน
สำนวน คือ ถ้อยคำที่มีความหมายไม่ตรงตามตัวอักษร มักใช้ในการเปรียบเทียบ มีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
๑. ใช้คำคล้องจองหรือการซ้ำคำ เช่น ก่อร่างสร้างตัว
๒. มีความหมายเชิงเปรียบเทียบ เช่น กระดี่ได้น้ำ
๓. มีลักษณะเป็นข้อคิดสอนใจ เช่น ดาบสองคม

๒. สุภาษิต
สุภาษิต คือ ถ้อยคำที่ใช้เป็นคติสอนใจ แนะนำ หรือเตือนไม่ให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักเป็นถ้อยคำสั้น ๆ และมีสัมผัสคล้องจอง เช่น รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี

๓. คำพังเพย
คำพังเพย คือ ถ้อยคำที่กล่าวแสดงความคิดเห็นอย่างกลาง ๆ เพื่อนำไปใช้ให้เข้ากับข้อความที่พูดหรือเขียน เช่น ปิดทองหลังพระ

การแต่งคำประพันธ์
คำประพันธ์ คือ ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นตามฉันทลักษณ์ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปตามคำประพันธ์แต่ละชนิด ในการแต่งคำประพันธ์นักเรียนจำเป็นต้องมีความรู้เรื่อง คำสัมผัส

๑. คำสัมผัส
คำสัมผัส คือ คำที่มีเสียงรับกันหรือสอดคล้องกัน หากแบ่งตามลักษณะของเสียง จะแบ่งได้ ๒ ประเภท ได้แก่
๑. สัมผัสสระ คือ คำที่มีเสียงสระและเสียงตัวสะกดเหมือนกัน เช่น มด-อด ไต่-ไร
๒. สัมผัสพยัญชนะ คือ คำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเหมือนกัน เช่น นก-นา ปลา-เปลี่ยน

 

เกร็ดควรรู้

สัมผัสพยัญชนะ ไม่ใช่แค่คำที่มีพยัญชนะต้นตัวเดียวกัน แต่หมายถึงพยัญชนะที่ออกเสียงเหมือนกันหรือคู่กัน เช่น ข-ค-ฆ พ-ผ-ภ ศ-ษ-ส

นอกจากนี้ หากแบ่งตามตำแหน่งของคำ จะแบ่งได้ ๓ ลักษณะ ได้แก่
๑. สัมผัสใน คือ สัมผัสสระหรือสัมผัสพยัญชนะที่อยู่ในวรรคเดียวกันของคำประพันธ์
๒. สัมผัสนอก คือ สัมผัสสระที่สัมผัสกันระหว่างวรรคของคำประพันธ์
๓. สัมผัสระหว่างบท คือ สัมผัสสระที่สัมผัสกันระหว่างบทของคำประพันธ์

๒. กาพย์ยานี ๑๑
กาพย์ยานี ๑๑ คือ คำประพันธ์ประเภทกาพย์ชนิดหนึ่ง ๑ บทมี ๒ บาท ๑ บาทมี ๒ วรรค วรรคหน้ามี ๕ คำ และวรรคหลังมี ๖ คำ มีลักษณะบังคับและคำสัมผัส ดังนี้

การแต่งคำประพันธ์ มีหลักการ ดังนี้
๑. กำหนดประเภทว่าจะแต่งคำประพันธ์ชนิดใด
๒. วางโครงเรื่องว่าจะแต่งเกี่ยวกับอะไร มีสาระอะไรบ้าง
๓. เขียนเนื้อความทั้งหมดเป็นร้อยแก้วก่อน
๔. นำเนื้อความมาเรียบเรียงให้ตรงตามฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์

 

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *